landing
การออกแบบสถาปัตยกรรม

การออกแบบสถาปัตยกรรมของโครงการ มี 4 ด้าน ดังนี้

  1. 1. ด้านความปลอดภัยตามหลักวิศวกรรม (Safety)
    1. 1.1 ความมั่นคงและความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร
    2. ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 ข้อ 15 หน่วยน้ำหนักบรรทุกจรสำหรับประเภทและส่วนต่างๆ ของอาคาร กำหนดให้
      • อาคารประเภท 7(ก),(ข) หอประชุม โรงมหรสพ ภัตตาคาร ห้องประชุม และ 8(ก) พิพิธภัณฑ์ ห้องเก็บเอกสารและพัสดุ โรงมหรสพ ห้องสมุดและหอสมุด ต้องมีน้ำหนักบรรทุกจร 400-500 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
      • โครงสร้างของอาคารศาลากลางเดิมเป็นอาคารประเภทสำนักงาน สามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกจร 300 กิโลกรัมต่อตารางเมตร จึงไม่เพียงพอในการรับน้ำหนักอาคารตามประเภทการใช้งานที่ออกแบบใหม่
    3. 1.2 การรองรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
    4. ตามกฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564 ข้อ 3 หน้า 14 ระบุไว้ว่า
      • จังหวัดน่าน อยู่ในบริเวณที่ 3 ซึ่งเป็นบริเวณหรือพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ว่าอาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพในระดับสูง เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
      • อาคารศาลากลางเดิมก่อสร้างประมาณปี พ.ศ. 2511 ยังไม่ได้มีการออกแบบเพื่อรองรับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว จึงเป็นเหตุผลในการสร้างอาคารใหม่เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย
    5. 1.3 การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย
    6. มีการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท. 3002–51 และ มาตรฐาน National fire protection association (NFPA-101)
      • ครอบคลุมเรื่องลักษณะของเส้นทางหนีไฟ จำนวนเส้นทางหนีไฟ การติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง การปิดล้อมช่องเปิดในแนวดิ่ง
      • ประตูทนไฟและช่องเปิดต่าง ๆ มีการติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานป้องกันอัคคีภัย
      • ห้องหรือพื้นที่กิจการชุมนุมคน เส้นทางออกและประตูทางเข้าออกหลักต้องเป็นไปตามมาตรฐานขีดความสามารถของทางหนีไฟ
      • มีการติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงตามที่กำหนดตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย วสท.
  1. 2. ด้านอารยสถาปัตย์ (Universal Design)
      อารยสถาปัตย์ คือ หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมให้กับคนทุกๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ คนปกติ ผู้พิการ (people with disabilities) เป็นการทำให้ไม่มีอุปสรรค (Barrier-
free) ในการใช้งาน สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงพื้นที่การให้บริการ การออกแบบเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม ถือเป็นหลักการที่พัฒนาพื้นที่ให้สังคมมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

      ตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2564 ข้อ 3 กำหนดให้
      • อาคารประเภทและลักษณะดังต่อไปนี้ ต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงนี้

      (1) อาคารที่ให้บริการสาธารณะ ได้แก่ โรงมหรสพ หอประชุม โรงแรม สถานศึกษา หอสมุด อาคารประกอบของสนามกีฬากลางแจ้งหรือสนามกีฬาในร่ม ตลาด
 ห้าง สรรพสินค้า ศูนย์การค้า สถานบริการ ฌาปนสถาน ศาสนสถาน พิพิธภัณฑสถาน และสถานีขนส่งมวลชน
รายละเอียดเพิ่มเติม
  1. 3. ด้านอาคารเขียว (Green Building)
      อาคารเขียว (Green Building) คือ อาคารที่สร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดวัฏจักรชีวิต (life cycle) ของตัวอาคาร 

      มาตรฐานสถาบันอาคารเขียวไทย (TREES) สำหรับประเทศไทยมีเกณฑ์ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) การประเมินความยั่งยืน ทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย โดยสถาบันอาคารเขียวไทย (TGBI) หน่วยงานที่ให้การรับรองอาคารประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานอาคารเขียว
รายละเอียดเพิ่มเติม
  1. 4. ด้านสถาปัตยกรรม “ลานนา-บาโรก” (Lanna-Baroque)
      งานออกแบบสถาปัตยกรรมของอาคารหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกหลังนี้ เป็นการออกแบบที่ผสมผสานระหว่าง “ศิลปะล้านนา” และ “ศิลปะบาโรก” อาคารหลังนี้ได้รวบรวมเอาลักษณะเด่นของทั้ง 2 สถาปัตยกรรมนี้มาใช้ โดยนำอัตลักษณ์ความเป็นสถาปัตยกรรมน่านที่ปรากฏตามอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑสถาน วัด และคุ้มเจ้า มาประดับตกแต่ง และได้นำเอาการแบ่งรูปทรงอาคารของสถาปัตยกรรมยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 ในยุคสมัยศิลปะบาโรกได้รับความนิยมและเฟื่องฟูมาร่วมออกแบบ
รายละเอียดเพิ่มเติม
ภาพจำลองงานออกแบบอาคาร
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
building-model-1
ภาพความคืบหน้าการก่อสร้าง

กันยายน 2567

สิงหาคม 2567

กรกฎาคม 2567