landing
ข่าวสารและกิจกรรม
img

26 เมษายน 2567

26/4/2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จ ฯ วางศิลาฤกษ์ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก (ศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า) ณ จังหวัดน่าน

วันที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯวางศิลาฤกษ์ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ณ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ศาล ทหาร ตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ พสกนิกรทุกหมู่เหล่าเฝ้า ฯ รับเสด็จ ในการนี้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมแผ่นศิลาฤกษ์ ทรงวางพลอยเก้าสี ทรงโปรยดอกไม้ จากนั้น เสด็จไปทอดพระเนตรนิทรรศการ และทอดพระเนตรแบบจำลองอาคาร สืบเนื่องมาจาก อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่าแห่งนี้ ได้ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2511 ตาม แบบมาตรฐานของกรมโยธาธิการในขณะนั้น แต่เนื่องจากอาคารสถานที่มีความคับแคบ ไม่สามารถขยายพื้นที่ เพื่อรองรับการขยายตัวของส่วนราชการต่างๆ ได้ประกอบกับปี พ.ศ.2548 จังหวัดน่านมีแผน แม่บท และผังแม่บทการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าน่าน จังหวัดน่านจึงดำเนินการตามแผนแม่บท โดย เมื่อปี พ.ศ.2558 ได้ย้ายศาลากลางจังหวัดน่าน ไปยังศูนย์ราชการจังหวัดน่านแห่งใหม่ ณ ตำบลไชยสถาน หลังจากย้ายออกไป อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าแห่งนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน กระทรวงมหาดไทยได้เห็นถึงศักยภาพ และความพร้อมของมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ จึงได้เชิญให้มาเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการปรับปรุงศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ล้านนาตะวันออก โดยการดำเนินการได้ปฏิบัติตามขั้นตอน กระบวนการข้อระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆด้วยความเรียบร้อย โดยคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 รับทราบ และเห็นชอบหลักการ การดำเนินการของจังหวัดน่านที่ได้เสนอ โครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 กระทรวงมหาดไทยและมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ฯ ได้จัดพิธีลงนามสัญญา อนุญาตให้ใช้พื้นที่ ณ กระทรวงมหาดไทย โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และ นายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ ฯ ลงนามร่วมกัน โครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ตั้งอยู่บน พื้นที่จำนวน 9 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา ประกอบด้วย หอศิลปวัฒนธรรม อาคารหอประชุมอเนกประสงค์ อาคารบริการ สวนพฤกษศาสตร์ และลานกิจกรรม ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี ซึ่งมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ใน พระราชูปถัมภ์ฯ สนับสนุนงบประมาณ การก่อสร้างทั้งหมดรวมถึงงบประมาณ ในการบริหารจัดการตลอด อายุสัญญา ไม่มีการเก็บค่าบริการ ค่าเข้าชมนิทรรศการ ค่าทากิจกรรมหรือเงินตอบแทนต่างๆ จากประชาชนผู้ใช้บริการ มีวัตถุประสงค์การดำเนิน โครงการภายใต้หลัก "การพัฒนาที่ยั่งยืนของพลเมืองน่าน ผ่านการรับรู้ เรียนรู้ และนำไปใช้อย่างเข้าใจ" บุคลากรเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จะส่งเสริมการจ้างงาน ในพื้นที่ สร้างโอกาสความเสมอภาคเพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบสำคัญของประเทศไทย ต่อไป ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน https://nan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/282974

img

15 พฤศจิกายน 2566

15/11/2566 ปลัดกระทรวงมหาดไทยประกอบพิธี บวงสรวงสักการะ ก่อนรื้อถอนอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เพื่อปรับปรุงเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานในพิธีบวงสรวงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตเจ้าผู้ครองนครน่านทุกพระองค์ และเทวดาอารักษ์ทั้งหลาย ในโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ณ ศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน ในงานมีพิธีถวายขันข้าว 100 ขัน เจดีย์ทราย 100 กอง ตุงซาววา 4 ตัว พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 (ท้าจตุโลกบาล) ทาบุญตักบาตรใส่ขัน 100 ขัน เจ้าคณะจังหวัดน่านพระเถระประกอบพิธีสวดถอน พื้นที่ 5 จุดนา ในงานมีผู้บริหารภาคราชการ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมงานจำนวนมาก ช่างฟ้อน 100 นางประกอบพิธีฟ้อนล่องน่าน เป็นการเฉลิมฉลอง ถวายสักการะ ศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าสร้างเมื่อปี 2511 ตั้งอยู่บนถนนสุริยะพงษ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นสถานที่ทำงานของส่วนราชการระดับจังหวัดหลายหน่วยงาน ตัวอาคารเป็น ทรัพย์สินของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อปี 2558 ได้มีการย้ายศาลากลางจังหวัดน่าน ไปยังศูนย์ราชการจังหวัดน่านแห่งใหม่ที่ตำบลไชยสถาน เพื่อลดความแออัดในพื้นที่เมืองเก่าน่าน ในปี 2562 กระทรวงมหาดไทยมองเห็นศักยภาพ และความพร้อมของมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน จึงได้เชิญมาเป็นผู้สนับสนุน และดำเนินการบริหารจัดการโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ซึ่งมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่านเมื่อ วันที่ 11 กรกฎาคม 2565 เป็นชอบรูปแบบรายการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก จึงเป็นที่มาของการจัดสร้าง ดังกล่าว โดยมีการจัดเวทีสร้างการรับรู้ และรับฟังความคิดเห็นประชาชน 4 ครั้ง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 กระทรวงมหาดไทยโดยนายสิทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่านได้ลงนามในสัญญาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และประกอบพิธีบวงสรวงในวันนี้กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้สำนักงานจังหวัดน่าน และสำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดน่านประสาน และดำเนินการแทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ได้สำรวจข้อมูล และจัดทำแบบร่างพร้อมประมาณราคาค่ารื้อถอนเรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอนส่วนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่น องค์พญาครุฑ ป้ายศาลากลางจังหวัดน่าน แผ่นจารึกป้ายทำเนียบรายงานผู้ว่าราชการจังหวัด จะจัดทำบัญชีรายการ และมีคณะกรรมการร่วมตรวจสอบตรวจรับ เพื่อนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่อไป ทรัพย์สินวัสดุที่ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้จะดำเนินการจำหน่ายขายทอดตลาดโดยจะทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมออกทั้งหมด วิธีการรื้อถอนจะใช้เครื่องหนีบคอนกรีต พร้อมเครนหรือรอกเพื่อพยุงโยกย้ายวัสดุเพื่อความปลอดภัย และนำออกไปย่อยหรือทำลายพื้นที่ภายในประกอบด้วยนิทรรศการหมุนเวียนต้นทุนทาง วัฒนธรรมต่อยอดปัญญาของบรรพชน พื้นที่ศูนย์สังสรรค์ทางปัญญา Nan Creative Center พื้นที่เรียนรู้ โดยสื่อดิจิตอล ลานเรียนรู้สำหรับเด็กเล็ก ลานกิจกรรม สัมมนา ห้องสมุดดิจิทัล และห้องประชุมสำหรับ ทั้งแบบส่วนบุคคลและแบบกลุ่ม และจะยังคงรักษาพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ไว้ ณ ตำแหน่งที่ ประดิษฐานเดิมในปัจจุบัน สำหรับอาคารใหม่ของโครงการประกอบด้วย หอศิลปวัฒนธรรม อาคารประชุมอเนกประสงค์ อาคารบริการสวนพฤกษศาสตร์ และลานกิจกรรมระยะเวลารื้อถอน ตั้งแต่ 10 พฤศจิกายน 2566 ใช้เวลา ในการรื้อถอน 4 เดือน และใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน https://nan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/232661

img

14 กันยายน 2566

14/9/2566 กระทรวงมหาดไทยร่วมกับมูลนิธิรักษ์ป่าน่านในพระราชูปถัมภ์ฯ และมูลนิธิกสิกรไทย ลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้พื้นที่สนับสนุนโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

วันที่ 14 ก.ย. 66 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์ กระทรวงมหาดไทย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานร่วมในพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดการโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก โดย นายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานร่วมและลงนามในสัญญาอนุญาต โดยมี นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการมูลนิธิกสิกรไทย นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน โดยได้รับเมตตาจากพระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย และพระครูสุภัทรธรรมโฆษิต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม และผู้รักษาการเจ้า อาวาสวัดบางหลวงหัวป่า ร่วมในงานโอกาสนี้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านสาธารณภัย และพัฒนาเมือง นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นางสาวชนม์ชนัม สุนทรศารทูล กรรมการ และที่ปรึกษากฎหมายธนาคารกสิกรไทย นายมานะ สิมมา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมาย นางบุญจิรา เจริญศักดิ์ โยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดน่าน นายพรชัย ยงนพกุล รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย และภาคีเครือข่าย ร่วมพิธี ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/72213

img

14 มีนาคม 2566

14/3/2566 การประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความ คืบหน้าของการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าของการดำเนินงานการ พัฒนาพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้ กระทรวงมหาดไทย (มท.) รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และ พัฒนาเมืองเก่าน่านได้มีมติเห็นชอบโครงการการบูรณะปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เพื่อเป็น หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และให้จัดประชุมรับฟังความ คิดเห็นของประชาชน ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] มีมติ ดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการการขอเปลี่ยนแปลงแผนแม่บท และผังแม่บทการอนุรักษ์ และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน โดยให้ปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก 2. เห็นชอบให้จังหวัดน่านจัดทำแผนแม่บท และผังแม่บทการอนุรักษ์ และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่านฉบับใหม่ โดยทบทวนแผนแม่บทฉบับเดิมในภาพรวม และการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณต่าง ๆ ในเมืองเก่าให้เหมาะสม โดยจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ และให้จังหวัดน่านรับความเห็นของคณะกรรมการ ฯ ไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 3. รับทราบ และเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าน่านที่เห็นชอบโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

img

7 ธันวาคม 2565

7/12/2565 การประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ครั้งที่ 2/2565 มีมติประชุมรับทราบ และเห็นชอบโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 65 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุมมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ประชุมพิจารณารับทราบ และเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าน่านที่เห็นชอบโครงการปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัด น่าน (หลังเก่า) ให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

img

7 ตุลาคม 2565

7/10/2566 จังหวัดน่านจัดแถลงข่าวโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก

วันที่ 7 ต.ค. 66 เวลา 17.00 น. ณ บริเวณข่วงเมืองน่าน (ข่วงน้อย) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จัดแถลงข่าวโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ล้านนาตะวันออก โดยมีนายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน และพระชยานันทมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง ร่วมแถลง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นผู้แทนแถลงข่าวตามที่กระทรวงมหาดไทย และมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ ได้ ลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการปรับปรุงศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) เป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก เมื่อ 14 กันยายน 2566 ณ กระทรวงมหาดไทย การแถลงข่าวในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชนในจังหวัดน่าน เกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าว ทั้งนี้ มูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ฯ จะเป็นผู้สนับสนุน และให้งบประมาณก่อสร้างอาคารทั้งหมดภายในโครงการ ตลอดจนงบประมาณด้านบุคลากร ด้านค่าสาธารณูปโภค โดยมีขั้นตอนการ ดำเนินการต่างๆ ตามสัญญาให้ใช้พื้นที่ ซึ่งท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน จะได้แถลงในลำดับต่อไป ด้านนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี 2548 ประกาศให้บริเวณเมืองเก่าน่านเป็นพื้นที่อนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่า และกำหนดให้ศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า เป็นศูนย์เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม เมื่อปี 2558 จังหวัดน่านได้ย้ายศาลากลางจังหวัดไปยังศูนย์ราชการจังหวัดแห่งใหม่ ทำให้ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จนทุกวันนี้ เนื่องจากเกินกำลังทำให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา ไม่มีหน่วยงานใดสามารถที่จะพัฒนาพื้นที่ศาลากลางหลังเก่าได้ กระทรวงมหาดไทยมองเห็นศักยภาพ และความพร้อมของมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ฯ จึงเชิญให้มาเป็นผู้สนับสนุนบริหารจัดการโครงการ ฯ ที่ผ่านมาได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจังหวัดน่าน มี ประชาชนเข้าร่วม 45,469 คน มีผู้เห็นด้วย 92% ไม่เห็นด้วย 1% ต่อมา เมื่อ 14 มีนาคม 2565 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติรับทราบ และเห็นชอบการดำเนินโครงการดังกล่าว และวันที่ 14 กันยายน 2566 กระทรวงมหาดไทยจึงลงนามสัญญาอนุญาตให้มูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ฯ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการ ฯ และงบประมาณในการก่อสร้างอาคารใหม่ การรื้อถอน การบริหารจัดการงบบุคลากร, ค่าสาธารณูปโภค, ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช้งบประมาณของราชการแม้แต่บาทเดียว พื้นที่โครงการ ประกอบด้วย หอศิลปวัฒนธรรม อาคารหอประชุมเอนกประสงค์ อาคารบริการ สวนพฤกษาศาสตร์ และลานกิจกรรม ทั้งนี้ จะไม่มีการเก็บค่าใช้บริการ ค่าสมาชิก ค่าเข้าร่วมกิจกรรม ค่าประชุม หรือค่าตอบแทน อื่นๆ จากผู้ใช้บริการใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีการนำพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ส่วนตน รวมถึงไม่มีการปล่อยเช่าพื้นที่ว่างเปล่า นอกจากนี้ นายชัยนรงค์ ฯ กล่าวย้ำอีกว่า บุคลากรที่ทำงานในโครงการจะเป็นคนน่าน โดยพื้นที่ อาคารเป็นพื้นที่ที่คนทุกเพศ ทุกวัย สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกัน และโครงการนี้จะเป็นของคนน่านทุกคน เป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะวัฒนธรรมประเพณี สืบต่อให้ลูกหลาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองน่านอย่างยั่งยืนต่อไป นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง อธิบายถึงการรื้อถอน และมาตรการการดูแลผลกระทบจากการรื้อถอน กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้สำนักงานจังหวัดน่าน และ สำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดน่าน ประสานงาน และดำเนินการแทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอน การก่อสร้าง ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง พื้นที่โครงการ ฯ อยู่ในที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ที่ นน 405 (บางส่วน) ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน เนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา สำนักงานโยธาธิการ และผังเมืองจังหวัดน่าน ได้สำรวจข้อมูลและจัดทำแบบร่าง พร้อมประมาณราคาค่ารื้อถอน เรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุที่เกิดจากการรื้อถอนแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ทรัพย์สินที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อาทิ องค์พญาครุฑ ป้ายศาลากลางจังหวัดน่าน แผ่นจารึก ป้ายทำเนียบรายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน จะทำบัญชี และมีคณะกรรมการร่วมตรวจสอบ เพื่อนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ต่อไป 2) ทรัพย์สิน/วัสดุที่ยังนาไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ 3) ทรัพย์สิน/วัสดุ ที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ จะรื้อถอนอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) และสิ่งปลูกสร้างเดิมออกทั้งหมด ทั้งที่อยู่เหนือพื้นดิน และอยู่ใต้ดิน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการรับฟังความคิดเห็นประชาชน ฯ เมื่อเดือนกันยายน 2565 โดยจะรื้อถอนให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่โครงการ การรื้อถอนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จะใช้วิธีการ sawcut, chaincut, เครื่องหนีบคอนกรีต (HYDRUALIC CRUSHER), เครื่องตัดคอนกรีต (WIRE SAW), พร้อมใช้เครน หรือรอก เพื่อพยุง/ โยกย้ายวัสดุ เพื่อความปลอดภัย และนำออกไปย่อยหรือทำลายภายนอกพื้นที่ โดยไม่ใช้เครื่องสกัดคอนกรีต (BRAKER HAMER) ที่มีเสียงดัง โดยมีมาตรการป้องกันฝุ่นละอองกระจายออกนอกพื้นที่ จัดให้มีการดูแลรักษาเครื่องมือตรวจวัดเสียงที่เกิดจากการรื้อถอน และก่อสร้างรั้วชั่วคราว โดยเสียงที่เกิดขึ้นจะต้องไม่เกิน 75 เดซิเบล (เอ) ที่ระยะ 30 เมตร การรื้อถอนต้นไม้เดิมในพื้นที่โครงการจะใช้วิธี ล้อมเพื่อย้ายออกนอกพื้นที่ชั่วคราว เพื่อนำกลับมาปลูกใหม่ในพื้นที่ และคงรักษาพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ไว้ ณ ตำแหน่งที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน โดยจะใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 24 เดือน นับจากวันรื้อถอนแล้วเสร็จ ในนามกรมโยธาธิการและผังเมือง ยินดีให้การสนับสนุน และให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินโครงการ ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ขณะที่นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ได้นาเสนอการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนจังหวัดน่านต่อโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก พระชยานันทมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง ได้เจริญพรถึงข้อมูล ความคิดเห็นของภาคประชาชนที่มีต่อโครงการ ฯ ดังกล่าวว่า มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างถูกต้อง เป็นความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ขอให้มูลนิธิรักษ์ป่าน่าน เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมูลนิธิ ฯ มีความพร้อม มีศักยภาพ และสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ สถานที่แห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดน่าน จะเป็นสถานที่ศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งความหลากหลายทางศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม และส่งเสริมการเรียนรู้ในสรรพวิชาการต่างๆ ทั้งพุทธศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น จึงขออนุโมทนาในความตั้งใจดำเนินการของภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน อันจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อจังหวัดน่านสืบไป ที่มา สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน https://nan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/221625

img

2 สิงหาคม 2565

จังหวัดน่านจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนชาวจังหวัดน่าน โครงการบูรณะปรับปรุง อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) ครั้งที่ 1 – ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2565 และ 19 สิงหาคม 2565)

จังหวัดน่านจัดการประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็น โครงการบูรณะปรับปรุงอาคารศาลากลาง จังหวัดน่าน (หลังเก่า) 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันที่ 2 ส.ค. 2565 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอปัว จังหวัดน่าน เพื่อรับฟังความ คิดเห็นประชาชนจังหวัดน่านในเขตพื้นที่อำเภอโซนเหนือ ได้แก่ อำเภอปัว อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอบ่อเกลือ อำเภอท่าวังผา และอำเภอสองแคว ครั้งที่ 2 วันที่ 3 ส.ค. 2565 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนจังหวัดน่านในเขตพื้นที่อำเภอโซนใต้ ได้แก่ อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น ครั้งที่ 3 วันที่ 4 ส.ค. 2565 ณ หอประชุมวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอโซนกลาง ได้แก่ อำเภอเมืองน่าน อำเภอภูเพียง อำเภอบ้านหลวง อำเภอแม่จริม และอำเภอสันติสุข ครั้งที่ 4 วันที่ 19 ส.ค. 2565 ณ หอประชุมวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยในครั้งนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นสำหรับประชาชนทั้งหวัดน่าน โดยเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 4 ครั้ง มีประชาชนเข้าร่วมฟังกว่า 45,469 คน ผลการรับฟัง ดังนี้ เห็นชอบ 92%, ไม่แสดงความคิดเห็น 7%, ไม่เห็นด้วย 1%

img

11 กรกฎาคม 2565

11/07/2565 คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ครั้งที่ 4/2565 มีมติเห็นชอบโครงการ บูรณะปรับปรุง และบริหารจัดการอาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า หลังจากนี้จะมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่านเป็นประธานในการ ประชุมคณะอนุกรรมการอนุรักษ์ และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ณ ห้องประชุมวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน อ.เมืองน่าน จ.น่าน โดยมีพระราชศาสนาภิบาลเจ้าคณะจังหวัดน่านเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ในการประชุมดังกล่าวมีนายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ร่วมประชุมพร้อมคณะอนุกรรมการท่านอื่น ทั้งนี้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ โครงการบูรณะปรับปรุงอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชน